เมนู

หัสสธรรมสิกขาบทที่ 3


ในสิกขาบทที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถว่าด้วยธรรม คือหัวเราะในน้ำ]


บทว่า อปฺปกตญฺญุโน มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นจะยังไม่รู้ข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้ง ไว้ คือ ทรงบัญญัติไว้แล้ว. การเล่นน้ำ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธรรม คือ การหัวเราะในน้ำ.
บทว่า อุปริโคปฺผเก คือ ในน้ำลึกขนาดท่วมส่วนเบื้องบนของข้อ
เท้าทั้ง 2.
บทว่า หสุสาธิปฺปาโย แปลว่า มีความประสงค์จะเล่น.
ในคำว่า นิมุชฺชติ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เนื้อหยั่งลงเพื่อต้อง
การจะดำลง เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. ในการดำลงและผุดขึ้นเป็นปาจิตตีย์
ทุก ๆ ประโยค. ภิกษุดำลงว่ายไปภายในน้ำนั่นเอง เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้ง
ที่ขยับมือขยับเท้าในที่ทั้งปวง.
บทว่า ปลวติ แปลว่า ว่ายข้ามไป. เมื่อใช้มือทั้ง 2 ว่ายข้ามไป
เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ครั้งที่ขยับมือ. แม้ในเท้าทั้ง 2 ก็นัยนี้นั้นแล ภิกษุว่ายข้าม
ไปด้วยอวัยวะใด ๆ เป็นปาจิตตีย์ ทุก ๆ ประโยค แห่งอวัยวะนั้น ๆ. ภิกษุ
กระโดดลงในน้ำ จากฝั่งก็ดี จากต้นไม้ก็ดี เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน .
สองบทว่า นาวาย กีฬติ มีความว่า ภิกษุแล่นเรือด้วยพายและถ่อ
เป็นต้น หรือเข็นเรือบนตลิ่ง ชื่อว่าเล่นเรือ เป็นทุกกฏ.